บทที่ 2.2 การอ้างอิง



การอ้างอิง

จากรูปภาพ เลือกเซลล์ที่ F3 โดยทำการอ้างอิงถึงเซลล์ D3 โดยใช้วิธีดังนี้ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย “=” แล้วตามด้วยชื่อเซลล์ที่จะอ้างอิงลงบนช่องสูตรแล้วจากนั้นกด enter เซลล์ที่เลือกก็จะไปอ้างอิงตามที่กำหนดไว้

การอ้างอิงเซลล์แบบสัมพัทธ์

การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ คือ การอ้างอิงไปที่เซลล์ใดหรือช่วงเซลล์ใดก็ตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การ ย้ายหรือคัดลอกสูตร จะทำให้ตำแหน่งการอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปตามความสัมพัทธ์ของการย้ายหรือคัดลอก ตัวอย่างเช่น

เซลล์ตำแหน่งที่ E3 ได้อ้างอิงแบบสัมพัทธ์ไปที่ตำแหน่ง C3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 20 จากนั้นทำการคัดลอกสูตรในคอลั่ม E จนถึงแถวที่ 9


ผลลัพธ์ที่ได้คือ

จะเห็นว่าตำแหน่งเซลล์ที่ E4 มีสูตรที่อ้างอิงไปยังตำแหน่งที่ C4 เพราะเราคัดลอกสูตรในคอลั่มซึ่งเซลล์แถวที่ต่อลงมาก็จะเปลี่ยนการอ้างอิงแค่เลขแถว ผลที่ได้เซลล์แถวต่อลงมาจะมีสูตรเป็นC5, C6, C7, C8, C9 ค่าที่ได้ก็จะตรงตามที่เราอ้างอิง

การอ้างอิงเซลแบบสัมบูรณ์

เป็นการอ้างอิงแล้วเมื่อคัดลอกสูตรค่าที่อ้างอิงจะไม่สัมพัทธ์หรือไม่เปลี่ยนตามการคัดลอก แล้วเซลล์ที่ถูกคัดลอกจะมีสูตรอ้างอิงที่เหมือนกับต้นเซลล์ต้นฉบับ จะมีประโยชน์มากๆ เมื่อมีการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ผสมอยู่ เราสามารถเขียนเป็นรูปแบบดังนี้ ใช้เครื่องหมาย “$” เอาไว้หน้าคอลั่มหรือแถว ที่ต้องการคัดลอกสูตรแล้วจะไม่สัมพัทธ์

การอ้างชื่อ ความหมาย
$E$4 คอลั่ม E ไม่สัมพัทธ์ และ แถว 4 ไม่สัมพัทธ์
$E4 คอลั่ม E ไม่สัมพัทธ์ แต่ แถว 4 สัมพัทธ์
E$4 คอลั่ม E สัมพัทธ์ แต่ แถว 4 ไม่สัมพัทธ์


โดยตัวอย่าง

ทำการคัดลอกสูตรที่ F3 จากต้นฉบับ E3 ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ที่คอลั่ม C และแถวแบบสัมพัทธ์ แต่เป็นการคัดลอกตามคอลั่ม
ผลที่ได้คือ




ตัวอย่างผสม

เซลล์ตำแหน่ง E3 มีสูตรคือ นำค่าในเซลล์ตำแหน่ง C3 ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์และนำไปบวกกับค่าในเซลล์ที่ตำแหน่ง F2 ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ทั้งคอลั่มและแถว คัดลอกสูตรในคอลั่มโดยจากแถว 4 ถึง แถว 9 ผลที่ได้คือ


จะได้ค่าบวก 1 จากเซลล์ตำแหน่ง F2 ที่เป็นการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ แต่การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์จะเปลี่ยนแปลงตามปกติ